รายละเอียดโครงการ

หลักการและเหตุผล 

ด้วยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ดำเนินการแบบบูรณาการด้านการเกษตรร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการดำเนินการโครงการ “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง จังหวัดชุมพร” ภายในจังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน มีการผลิตทุเรียน ปาล์มน้ำมัน และพืชสมุนไพร ซึ่งสอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่สามารถนำองค์ความรู้และงานวิจัยทางด้านการเกษตร มาพัฒนาหลักสูตร จัดทำ Platform ในการพัฒนาทักษะและเสริมการเรียนรู้ แบบ E-Learning ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้าสู่ระบบศูนย์ข้อมูลและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ดำเนินการสร้างโรงเรียนผู้สูงวัย บนเว็ปไซด์ ในรูปแบบ Digital Education & On the Job Coaching และ Model (on website) สามารถสร้างรายได้ สร้างอาชีพ อย่างมีความสุข ผู้สูงอายุมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุ สามารถเพิ่มทักษะ เกิดการสร้างและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงวัยในโรงเรียนผู้สูงวัย Online & Onsite และ Reskill & Upskill ในทักษะที่เหมาะสมกับผู้สูงวัยเพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่ New Normal และ Ecosystem ก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ เกิดกระบวนการจัดการความรู้จากการวิจัยมาเพื่อเพิ่มทักษะ  เกิดหลักสูตรการพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพในโรงเรียนผู้สูงวัย  เกิดการเชื่อมโยงหรือการดำเนินการร่วมกับหน่วยงาน

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และจังหวัดชุมพรได้เห็นความสำคัญทางความร่วมมือทางด้านการส่งเสริมการเกษตรของผู้สูงอายุซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนในจังหวัดชุมพร การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการเกี่ยวกับพัฒนามาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้กับเกษตรกรในจังหวัดชุมพร  ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงทางด้านการเกษตรของประเทศเป็นแหล่งองค์ความรู้และถ่ายทอดวิทยาการต่างๆ เป็นที่พึ่งของเกษตรกรในทุกระดับ ในการแก้ปัญหาต่างๆ ทางด้านการเกษตร ส่งเสริมอาชีพ รายได้ และวิถีความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้สูงอายุมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งเสริมอาชีพและการสร้างแรงจูงใจให้เข้าสู่สังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ พัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุ สร้างอาชีพให้กับกลุ่มผู้สูงวัย นำความรู้ที่ได้ไปสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้เข้าร่วมโครงการได้อย่างเป็นรูปธรรม พัฒนาศักยภาพของคนวัยเกษียณให้มีทักษะด้านต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับวิถีชีวิตแนวใหม่ คนเกษียณสามารถพึ่งพาตนเองได้ และไม่เป็นภาระในการดูแลของครอบครัวหรือภาครัฐ สำหรับคนเกษียณที่ดูแลตัวเองได้ สามารถทำงานได้ และมีทักษะเฉพาะทางที่ต้องใช้ประสบการณ์สูงในการทำงานโดยเฉพาะด้าน ผู้สูงอายุมีความสุขทางใจเพิ่มขึ้น ผู้รับการถ่ายทอดฯ มีการนำไปใช้ประโยชน์ได้

          โครงการเปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง จังหวัดชุมพร จึงมีขอบเขตการดำเนินการนำส่งองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่พื้นที่เป้าหมายกลุ่มผู้สูงอายุและสังคมผู้สูงอายุ (วัยเกษียณ) ที่ประกอบอาชีพเกษตรกร 8 อำเภอ จังหวัดชุมพร จำนวน 800 คน ช่วงอายุ 55-70 ปี ที่สามารถทำงานได้ มีความพร้อมด้านสุขภาพ ไม่มีโรคร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรม โดยดำเนินการพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดชุมพร ให้สามารถสร้างแรงจูงใจของกลุ่มผู้สูงอายุและสังคมผู้สูงอายุ (วัยเกษียณ) ในการเข้าสู่สังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทักษะงานในโลกดิจิทัล หรือทักษะงานเฉพาะของผู้สูงอายุที่ยังเป็นที่ต้องการสำหรับภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุยังมีโอกาสทำงานได้ 

วัตถุประสงค์